วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

จามจุรี ต้นไม้ประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

หลายๆคนอาจสงสัยว่าทำไมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงมีต้นไม้ประจำโรงเรียนและต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยต้นเดียวกัน คือ ต้นจามจุรี วันนี้ฉันจะมาอธิบายให้คุณทราบดังต่อไปนี้ค่ะ


โรงเรียนเตรียมอุดมฯ แต่ก่อนผู้ที่จะเข้าจุฬาฯต้องมาศึกษา ณ ที่นี่ เมื่อก่อนชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงเรียนเตรียมฯ ยังใช้ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว(น้อย), ต้นจามจุรี, สีชมพู และการบูม Baka เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันเหมือนๆกับชาวจุฬาฯ อีกด้วย


ต้นจามจุรีบริเวณจุฬาฯ


หลักฐานที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของการถือว่าจามจุรีเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย หรือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวจุฬาฯ นั้นยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งชาวจุฬาฯ และสังคมทั่วไปก็คือ บริเวณที่เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นมีต้นจามจุรีขึ้นอย่างหนาแน่น และสิ่งที่นิสิตจุฬาฯ มีความรู้สึกนึกคิดตรงกันคือสีดอกจามจุรีเป็นสีชมพู จามจุรีให้ร่มเงาสำหรับการเดินไปมา การพักผ่อน การดูหนังสือ ใช้กิ่งก้านใบจามจุรีในกิจกรรมรับน้องใหม่กับการแข่งขันกีฬา วัฏจักรของจามจุรีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ สีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในภาคต้น และภาคที่สองทั้งใบและฝักเตือนให้รีบดูหนังสือเตรียมตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นจะพบกัน repeat หรือ retire จามจุรีอยู่ที่จุฬาฯ มานานจนบอกไม่ได้ว่าเมื่อไร ด้วยเหตุนี้จามจุรีกับจุฬาฯ จึงผูกพันกันมากจนกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ


ลานจามจุรีศรีโพธิ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา


โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาของเรา มีลานจามจุรีศรีโพธิ์ ซึ่งมีต้นจามจุรีและต้นศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่อยู่สองต้น เป็นสถานที่ที่ร่มรื่น เหมาะแก่การทำกิจกรรมของนักเรียนเตรียมอุดมศึกษาอีกด้วยค่ะ


ข้อมูลทั่วไปของต้นจามจุรี



ชื่อ : จามจุรี หรือ ก้ามปู หรือ ฉำฉา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Rain tree
ชื่อพื้นเมือง : ก้ามกราม (กลาง), ก้ามกุ้ง (กทม.,อุตรดิตถ์), ตุ๊ดตู่ (ตราด), ลัง (เหนือ), สารสา (เหนือ), สำสา (เหนือ) และ เส่คุ่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman
เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Leguminosae) ในวงศ์ย่อย Minosoideae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวาน สัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก, บราซิล และเปรู ต่อมาได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในเอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, หมู่เกาะแปซิฟิก และฮาวาย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้นจามจุรี
ใบ เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ 25 40 เซนติเมตร ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ ใบย่อย 2 10 คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย



ดอก เป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ จามจุรีออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม


ผล เป็นฝักแบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง 1.5 2 เซนติเมตร ยาว 12 20 เซนติเมตร ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด 15 25 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำยาว 0.5 0.8 เซนติเมตร ฝักแก่ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม


    ประโยชน์ของต้นจามจุรี
1.   เนื้อไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ภาคเหนือ ซึ่งมีการดำเนินงานในรูปสหกรณ์หัตถกรรมไม้ นอกจากไม้จามจุรีคือไม้สักมีราคาแพงและหายากทำให้ไม้จามจุรีจึงมีบทบาทในการทดแทนไม้สักได้มากขึ้น เนื่องจากไม้จามจุรี ราคาถูก สามารถหาได้ง่ายกว่าไม้สัก

2.    จามจุรีเป็นแม่ไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ผลดีมากชนิดหนึ่งโดยเฉพาะชนิดที่มีดอกสีชมพูเปลือกสีเทาดำ ใบเขียวเข้ม ครั่งจะจับได้ดี ไม้ชนิดนี้สามารถเลี้ยงครั่งทั้งรอบฤดูร้อนและฤดูฝน
3.    เป็นอาหารสัตว์ ใบและฝักมีคุณประโยชน์มาก สำหรับ วัว ควาย
4.    ปรับปรุงสภาพดินเลวให้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น ใบใช้ทำปุ๋ยหมักได้ โดนเฉลี่ยมีไนโตรเจนถึงร้อยละ 3.25
5.    เป็นไม้ประดับยืนต้น ที่สวยงามเนื่องจากเรือนยอดแผ่กว้างทั้งยังให้ร่มเงาที่ร่มเย็น เนื่องจากใบเป็นใบประกอบแบบผสมแบบขนนก ค่อนข้างใหญ่และอยู่ชิดกัน เมื่อพระอาทิตย์ตกดินใบจะหุบเข้าหากันครั้นรุ่งเช้าก็จะคลี่ขยายใบออก เพื่อเป็นการช่วยให้น้ำค้างที่ดินอยู่ตามกิ่งก้านหยดลงถึงพื้นดิน บรรดากล้วยไม้ที่เกาะติดอยู่ตามลำต้นและเฟิร์นที่อยู่ตามพื้นดินภายใต้ร่มเงาของจามจุรีจึงเจริญเติบโตได้ดี


ต้นจามจุรี


บทความโดย นันท์นภัส วุฒิพันธไชย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น